เมนูคำสั่งใน KK•Spell

เมื่อเปิดแอปพลิเคชัน KK•Spell จะแสดงเมนู บริเวณด้านขวาของเมนูบาร์ เมนูนี้จะแสดงอยู่ในทุกแอปพลิเคชันที่เราเข้าทำงาน เพื่อให้สามารถเรียกใช้เมนูคำสั่งต่าง ๆ ใน KK•Spell

นอกจากนี้ยังสามารถเรียกใช้เมนูคำสั่งได้อีกวิธีจากไอคอนของ KK•Spell บน Dock ด้วยการกดปุ่ม control บนคีย์บอร์ดค้างไว้แล้วคลิกลงบนไอคอน หรือเพียงคลิกขวา (หากได้กำหนดให้เป็น Secondary Click ของ Mouse และ/หรือ Trackpad ใน System Preferences)

เมนูคำสั่ง “พิสูจน์อักษร…” และคำสั่งย่อยภายในเมนู “เปลี่ยน”, “ลบ”, และ “แทรก” เป็นเมนูคำสั่งที่ใช้ร่วมกับแอปพลิเคชันต่าง ๆ โดยจะต้องเลือกข้อความ หรือ Copy ข้อความไว้ใน Clipboard ก่อนเรียกคำสั่ง ส่วนเมนูคำสั่ง “ปทานุกรม…”, “ตัวเลือกพิสูจน์อักษร…”, และ “สคริปต์พิสูจน์อักษร…” เป็นเมนูคำสั่งที่ใช้ติดตั้งแฟ้มและตั้งค่าต่าง ๆ ของ KK•Spell โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

 

พิสูจน์อักษร…

คำสั่งนี้เปิดวินโดว์สำหรับการพิสูจน์อักษร อ่านรายละเอียดได้ในหัวข้อ “วิธีการใช้งานเบื้องต้น


เปลี่ยน ▶

เมนูนี้มีคำสั่งที่ทำหน้าที่เปลี่ยนอักขระในข้อความที่เลือกไว้ ดังต่อไปนี้

▶ ลำดับอักขระไทยให้ถูกต้อง

เปลี่ยนลำดับของ สระ-วรรณยุกต์ และ สระ-ทัณฑฆาต (การันต์) ที่ผิดให้ถูกต้อง เช่น ไม้เอก (-่) + สระอี (-ี) เป็น สระอี (-ี) + ไม้เอก (-่) เป็นต้น

▶ ระดับอักขระไทยให้ถูกต้อง

แก้ไขปัญหาตำแหน่งสระและวรรณยุกต์ไม่ถูกต้องที่เรียกกันว่า สระลอย หรือวรรณยุกต์ลอย อ่านรายละเอียดได้ในหัวข้อ “วิธีแก้ไขสระลอย

▶ ฟันหนูเป็นอัญประกาศคู่

เปลี่ยนเครื่องหมายคำพูดแบบฟันหนู ("…") เป็นแบบอัญประกาศคู่ (“…”)

▶ อัญประกาศคู่เป็นฟันหนู

เปลี่ยนเครื่องหมายคำพูดแบบอัญประกาศคู่ (“…”) เป็นแบบฟันหนู ("…")

▶ ฝนทองเป็นอัญประกาศเดี่ยว

เปลี่ยนเครื่องหมายคำพูดแบบฝนทอง ('…') เป็นแบบอัญประกาศเดี่ยว (‘…’)

▶ อัญประกาศเดี่ยวเป็นฝนทอง

เปลี่ยนเครื่องหมายคำพูดอัญประกาศเดี่ยว (‘…’) เป็นแบบฝนทอง ('…')

▶ สระอำเป็นหยาดน้ำค้าง+ลากข้าง

เปลี่ยนสระอำ (-ำ) เป็นหยาดน้ำค้าง (-ํ) และสระอา (า)

▶ หยาดน้ำค้าง+ลากข้างเป็นสระอำ

เปลี่ยนหยาดน้ำค้าง (-ํ) และสระอา (า) เป็นสระอำ (-ำ)

▶ เลขอารบิคเป็นเลขไทย

เปลี่ยนตัวเลข 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9 เป็น ๐ ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๙ ตามลำดับ

▶ เลขไทยเป็นเลขอารบิค

เปลี่ยนตัวเลข ๐ ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๙ เป็น 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9 ตามลำดับ

▶ วรรคเกินเป็นตัวตั้งระยะ

เปลี่ยนวรรคที่อยู่ติดกันมากกว่า 2 อักษร เป็นอักษร Tab ตัวเดียว

▶ วรรคเป็นตัวตั้งระยะ

เปลี่ยนวรรค เป็นอักษร Tab

▶ ตัวตั้งระยะเป็นวรรค

เปลี่ยน Tab เป็นวรรคธรรมดา

▶ วรรคหน้าไม้ยมกเป็นแบบไม่ตัดคำ

เปลี่ยนวรรคธรรมดาที่อยู่ก่อนไม้ยมก (ๆ) เป็นวรรคแบบไม่ตัดคำ (Non-breaking Space) เพื่อไม่ให้ไม้ยมกหล่นไปอยู่คนละบรรทัดกับคำหน้า

▶ วรรคเป็นแบบธรรมดา

เปลี่ยนวรรค (White Space) ชนิด En Space, Em Space, Thin Space และ Non-breaking Space เป็นวรรคแบบธรรมดา

▶ อักษรโรมันเป็นตัวใหญ่

เปลี่ยนอักษร a ถึง z (Lower-case Letters) เป็น A ถึง Z (Upper-case Letters)

▶ อักษรโรมันเป็นตัวเล็ก

เปลี่ยนอักษร A ถึง Z (Upper-case Letters) เป็น a ถึง z (Lower-case Letters)

▶ อักษรโรมันต้นคำเป็นตัวใหญ่

เปลี่ยนคำที่สะกดด้วยอักษรโรมัน ให้อักษรแรกเป็น A ถึง Z (Upper-case Letters) และอักษรที่เหลือเป็น a ถึง z (Lower-case Letters) ที่เรียกกันว่า Capitalization

▶ รหัสโรมันเป็นไทย

เปลี่ยนอักษรที่แสดงตามรหัสแบบ Western (Mac OS Roman) เป็นรหัสแบบ Thai (Mac OS) ในรูปแบบยูนิโคด

▶ รหัสอักขระเป็นธรรมดา

เปลี่ยนอักษรที่ได้จากการใช้เมนูคำสั่ง “เปลี่ยน ▶ ระดับอักขระไทยให้ถูกต้อง” เป็นอักษรในชุดอักขระยูนิโคดภาษาไทย

 

ลบ ▶

เมนูนี้มีคำสั่งที่ทำหน้าที่ลบอักขระในข้อความที่เลือกไว้ ดังต่อไปนี้

▶ รหัสตัดคำ

ลบช่องว่างความกว้างศูนย์ (Zero Width Space) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า Soft Space หรือ Word Break

▶ รหัสเชื่อมคำ

ลบตัวเชื่อมคำ (Word Joiner) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า Word Joint

▶ รหัสแบ่งพยางค์

ลบยัติภังค์เผื่อเลือก (Discretionary Hyphen) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า Soft Hyphen

▶ วรรคเกิน

ลบวรรคที่อยู่ติดกันมากกว่า 1 อักษร ให้เหลือเพียงวรรคเดียว

▶ วรรคก่อนขึ้นบรรทัด

ลบวรรคที่อยู่หน้าอักขระปัดแคร่ (Carriage Return) หรือ อักขระป้อนบรรทัด (Line Feed)

▶ บรรทัดว่าง

ลบอักขระปัดแคร่ (Carriage Return) หรือ อักขระป้อนบรรทัด (Line Feed) ที่อยู่ติดกันมากกว่า 1 อักขระ ให้เหลือเพียงอักขระเดียว

▶ อักขระไทยซ้อน

ลบสระบนหรือล่าง รวมทั้งวรรณยุกต์ ไม้ไต่คู้ ทัณฑฆาต (การันต์) หยาดน้ำค้าง และพินทุ ที่พิมพ์ซ้ำซ้อนกันให้เหลือเพียงตัวเดียว

 

แทรก ▶

เมนูนี้มีคำสั่งที่ทำหน้าที่แทรกอักขระในข้อความที่เลือกไว้ ดังต่อไปนี้

▶ รหัสตัดคำ

แทรกช่องว่างความกว้างศูนย์ (Zero Width Space) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า Soft Space หรือ Word Break ระหว่างคำในภาษาไทยที่อยู่ติดกัน ช่วยให้การตัดคำภาษาไทยเป็นไปได้อย่างถูกต้องในแอปพลิเคชัน เช่น Adobe InDesign CS3 และ Microsoft Word 2011

▶ รหัสแบ่งพยางค์

แทรกยัติภังค์เผื่อเลือก (Discretionary Hyphen) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า Soft Hyphen ระหว่างคำในภาษาไทยที่อยู่ติดกัน ช่วยให้การตัดคำภาษาไทยเป็นไปได้อย่างถูกต้องในแอปพลิเคชัน เช่น Adobe Illustrator และ Adobe Photoshop


ปทานุกรม…

คำสั่งนี้เปิดวินโดว์สำหรับการจัดการปทานุกรมที่ใช้ในการพิสูจน์อักษร อ่านรายละเอียดได้ในหัวข้อ “ปทานุกรมและการติดตั้ง


ตัวเลือกพิสูจน์อักษร…

คำสั่งนี้เปิดวินโดว์สำหรับการกำหนดตัวเลือกในการพิสูจน์อักษร อ่านรายละเอียดได้ในหัวข้อ “ตัวเลือกในการพิสูจน์อักษร


สคริปต์พิสูจน์อักษร…

คำสั่งนี้เปิดวินโดว์สำหรับการกำหนดหน้าที่ของสคริปต์ที่ใช้ก่อนและหลังการพิสูจน์อักษร อ่านรายละเอียดได้ในหัวข้อ “การใช้สคริปต์พิสูจน์อักษร

 

เลิก KK•Spell

คำสั่งนี้ปิดแอปพลิเคชัน KK•Spell